สถิติ
เปิดเมื่อ24/12/2016
อัพเดท26/02/2017
ผู้เข้าชม6400
แสดงหน้า8814
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




บทความ

อุปกรณ์ในการทำขนมไทย
อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบขนมหวานไทย
 
-อุปกรณ์ที่ใช้ในการชั่งตวง
+ถ้วยตวงของแห้ง ถ้วยตวงมีเป็นชุด ทำด้วยอลูมิเนียม พลาสติกหรือสแตนเลท ขนาดมาตรฐานมี 4 ขนาด 
คือ 1 ถ้วยตวง 1/2 ถ้วยตวง 1/3 ถ้วยตวง และ 1/4 ถ้วยตวง ใช้สำหรับตวงของแห้ง เช่น แป้ง น้ำตาล 
มะพร้าวขูด ฯลฯ  ไม่ควรใช้ถ้วยตวงตักลงไปในวัสดุที่ต้องการตวง เพราะถ้วยจะกดลงไปในเนื้อของวัสดุ
ที่ตวง ทำให้เนื้อแน่น ปริมาณที่ได้จะไม่แน่นอน
+ถ้วยตวงของเหลว ถ้วยตวงของเหลวทำด้วยแก้วทนไฟหรือพลาสติกใส มีหูจับอยู่ด้านข้าง และที่ปากแก้ว
จะมีที่เทน้ำได้สะดวก     ตวงตามปริมาตรซึ่งมีบอกไว้อยู่ด้านนอกของถ้วยเป็นออนซ์    หรือขนาดถ้วย ใช้
สำหรับตวงของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน กะทิ ฯลฯ ที่นิยมใช้จะมีขนาด 8 ออนซ์ หรือ 16 ออนซ์
+ช้อนตวง ช้อนตวงมีลักษณะคล้ายช้อน  ทำจากอลูมิเนียมอย่างดี พลาสติก หรือสแตนเลท 1 ชุดมี 4 ขนาด 
คือ 1/4 ช้อนชา 1/2 ช้อนชา 1 ช้อนชา และ 1 ช้อนโต๊ะจะใช้ตวงวัสดุที่ใช้ปริมาณไม่มากนัก   เช่น เกลือ
กลิ่น หรือเครื่องเทศ  ฯลฯ      ลักษณะการใช้ให้ตักวัสดุที่ต้องการตวงใส่ลงในช้อนตวงให้พูนแล้วปาดให้
เสมอกับขอบของช้อนตวง        ไม่ควรใช้ช้อนตักลงในวัสดุที่ต้องการตวง     เพราะจะทำให้ได้ปริมาณที่
ไม่แน่นอนและเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง

 
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการปรุงขนมไทย
+กระทะทอง  เป็นกระทะก้นลึก     ทำด้วยทองเหลือง    ผิวของกระทะจะมีความหนาบางเท่ากันหมด   มีหู 2 หู ตรงกันข้ามหูกระทะจะถูกตรึงด้วยหมุดทองเหลืองอย่างแน่นหนา   มีตัวเลขบอกขนาดไว้ริมตัวกระทะ   ลักษณะของกระทะที่ดี
คือ   เนื้อเรียบ   ไม่มีตำหนิ   เคาะมีเสียงกังวาน   

+กระทะเหล็กแบน เป็นกระทะที่ใช้ในการทำขนมไทย  คือกระทะแบนมีขอบสูงประมาณ 1 นิ้วใช้ทำขนมที่ต้องละเลงให้เป็นแผ่นบาง ๆ  การเลือกซื้อให้ดูเนื้อเหล็กที่มีสีเข้มละเอียด เนื้อกระทะไม่มีรอยรั่วหรือขรุขระ เรียบเสมอกัน มีนำหนักพอควร

+กระทะเหล็กแบน  เป็นกระทะที่ใช้ในการทำขนมไทย  คือกระทะแบนมีขอบสูงประมาณ 1 นิ้วใช้ทำขนมที่ต้องละเลงให้เป็นแผ่นบาง ๆ 
+ กระทะ เป็นกระทะก้นลึก มีลักษณะเป็นใบบัวมีหู 2 ข้าง หรือมีด้ามทำด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียม หล่อมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับการเลือกนำมา
ใช้งาน

+ลังถึง เป็นภาชนะที่ทำด้วยอลูมิเนียม    มีรูปร่างคล้ายหม้อ  มีชั้นสำหรับใส่ขนมสองชั้น   ชั้นล่างสุดก้นเรียบสำหรับ
ใส่น้ำ ส่วนชั้นบนเจาะเป็นรูทั่วลังถึงทั้งสองชั้น การเลือกซื้อควรพิจารณาขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งาน มีคุณภาพ
ดี    ตัวลังถึงเรียบไม่มีรอยบุบ รอยรั่ว  ฝาปิดได้สนิท  ชั้นทุกชั้นของลังถึงซ้อนกันสนิท  

+หม้อเคลือบ  เป็นหม้อโลหะเคลือบ  ทั้งภายนอกภายใน หม้อมีหูจับที่ปากหม้อ 2 หู ใช้สำหรับต้มหรือกวนขนมที่มีรสเปรี้ยว                                                                      
 +หม้ออะลูมิเนียม  เป็นหม้อที่มีความเรียบทั้งภายนอกและภายในมีหูสำหรับจับที่ด้านข้าง 2 หู มีตราและเบอร์บอกขนาดของหม้อฝาปิดได้สนิท  

+หม้อทรงหวด ทำด้วยอลูมิเนียมมีลักษณะเป็นหม้อ 2 ชั้นทรงสูง  ใบบนทำเป็นหวดทรงกระบอก   ส่วนก้นเจาะเป็นรูเล็ก ๆ ใช้สำหรับใส่ข้าวเหนียวหรือถั่วเขียวนึ่ง  โดยใส่ของลงไปในหม้อปิดฝา  นำไปซ้อนบนหม้อน้ำ หรือจะนำหม้อทรงหวด
ด้านล่างมาผูกผ้าขาวให้ตึง  ทำขนมข้าวเกรียบปากหม้อได้ 

+หวดไม้ ลักษณะเป็นกรวยสามเหลี่ยม  มีความลึกประมาณ 8-10 นิ้ว  ทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นลายขัด    การเลือกควรเลือกชนิดที่มีเนื้อเรียบ   ไม่มีรอยผุที่เกิดจากตัวมอด   หรือเคลือบด้วยชเล็ค  ส่วนด้านล่างเป็นหม้อดิน หม้อปากแคบอื่น ก็ได้รองรับหวด  

+กระชอน กระชอนทำจากอลูมิเนียม หรือ สแตนเลส  การเลือกใช้อยู่ที่การใช้งาน   ใช้สำหรับกรองกะทิ กระชอน ชนิดที่เป็นไม้ไผ่   กรองกะทิได้ดี   ก่อนใช้ควรล้างให้สะอาดผึ่งให้แห้ง  และใช้ผ้าขาวบางใต้กระชอน   เพื่อช่วยให้น้ำกะทิ
สะอาด ไม่มีกากมะพร้าวชิ้นเล็ก ๆ ปนอยู่

+กระชอนทำจากอลูมิเนียม หรือ สแตนเลส  การเลือกใช้อยู่ที่การใช้งาน   ใช้สำหรับกรองกะทิ กระชอน ชนิดที่
เป็นไม้ไผ่   กรองกะทิได้ดี   ก่อนใช้ควรล้างให้สะอาดผึ่งให้แห้ง  และใช้ผ้าขาวบางใต้กระชอน   เพื่อช่วยให้น้ำกะทิ
สะอาด ไม่มีกากมะพร้าวชิ้นเล็ก ๆ ปนอยู่

+ที่ร่อนแป้ง  แป้งบางชนิดต้องการร่อน  เพื่อให้เศษผง แมลง หรือไข่แมลงเล็ก ๆ ออกจากแป้ง ทำให้แป้งความสะอาด และให้เนื้อแป้งละเอียด  อาจใช้ที่ร่อนเป็นสแตนเลส หรืออลูมิเนียมขึ้นอยู่กับการใช้งาน ถ้าใช้กับของแห้งไม่ควรนำไปใช้
กับของเหลว เพราะจะทำให้ส่วนผสมของอาหารปนกัน   หากมีความจำเป็นจะต้องใช้ร่วมกัน ก็ควรทำความสะอาด
ก่อนที่จะมีการใช้ต่อไป เช่น  ใช้ร่อนแป้ง ก็ควรปัดให้สะอาดก่อนนำไปกรองกะทิการทำความสะอาดล้างน้ำใช้แปรง
ถูให้ทั่ว เคาะให้สะเด็ดน้ำ ใช้ผ้าเช็ดผึ่งแดดให้แห้งก่อนเข้าที่

+พายไม้ชนิดต่าง ๆ  ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง เช่น    ไม้สัก   ไม้โมก  ลักษณะรูปร่างเหมือนไม้พายเรือ คือ มีด้ามยาวกลมถือได้ถนัดมือช่วงปลายจะแบนบานออกโค้งบนด้านหัวบนสุด    มีความยาวประมาณ 8-10 นิ้ว      การเลือกซื้อต้องดูเนื้อไม้ตลอดทั้งอัน  ไม่มีตาไม้หรือรอยแตก เกลาเรียบ  พายที่นิยมใช้ในการทำขนมหวานไทย    จะมีหลายขนาด นำมากวนขนมชนิดต่างๆ  และใช้พายไม้ขนาดเล็กสำหรับแซะขนมบางชนิด เช่น   ขนมถ้วยตะไล ฯลฯ  การทำความสะอาดใช้ล้างด้วยสบู่ ล้างน้ำสะอาดเช็ดให้แห้ง

+ผ้าขาวบาง  ใช้ผ้ามัสลินหรือผ้าสาลู ใช้สำหรับกรองของเหลวชนิดต่าง ๆ เช่น กระทิ น้ำเชื่อม ไข่ ฯลฯ เป็นต้น ผ้าขาวบาง ควรใช้ผ้าเนื้อนุ่มและโปร่งบาง ใช้ในการกรองแป้งกะทิ เพื่อแยกส่วนสกปรก หรือกากส่วนต่าง ๆ ออกให้หมด

+ถาดใส่ขนม  ถาดสำหรับใส่ขนมหวานไทย   นิยมใช้ถาดอลูมิเนียมเนื้อค่อนข้างหนา ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาด 12x12 นิ้ว ยกขอบสูงประมาณ 1-2 นิ้ว  ขอบถาดขลิบเรียบด้านหัวมุมของถาดทุกรอยต่อจะปัดกรีอย่างดีไม่มีรอยรั่ว ถาดที่ใช้
มีหลายแบบขึ้นอยู่กับนำมาใช้งาน   

 +ตะแกรงไม้ใช้ตากขนม    ความโปร่งของตะแกรงช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ เลือกตะแกรงที่มีช่องไม่ห่างจนเกินไป ขอบแน่นหนาการผูก
หวาย ที่ขอบมีลักษณะถี่และแน่น
 
-เครื่องมือที่ใช้ทำขนมไทยชนิดต่าง ๆ
+พิมพ์ขนมทองเอก สัมปันนี   เป็นพิมพ์ทำด้วยไม้แกะเป็นลวดลาย ในหนึ่งพิมพ์มี 4-5 ช่อง  เมื่อทำขนมแล้วล้างทำความสะอาดผึ่งแดดให้แห้ง ใส่ถุงพลาสติกรัดยาง

+พิมพ์ขนมครองแครง  เป็นพิมพ์ที่ทำด้วยไม้และพลาสติก  ใช้แล้วทำความสะอาดด้วยการแช่น้ำแล้ว ใช้ไม้แหลมแซะแป้งออกให้หมดล้างให้สะอาด ผึ่งแดดให้แห้งใส่ถุงพลาสติกรัดยาง

+พิมพ์ขนมฝรั่ง  เป็นรูปกลมภายในประกอบด้วยหลุมรูปร่างต่าง ๆ ประมาณ 7-10 อัน ขึ้นอยู่กับขนาดมีฝาปิด ควรเลือกซื้อชนิดที่เนื้อละเอียด ไม่มีรูอากาศ ไม่มีรอยร้าว ใช้งานแล้วทำความสะอาดให้ทั่วด้วยแปรงมัดเศษขนมออกให้หมด
ใช้ผ้าชุบน้ำมันเช็ดให้ทั่วพิมพ์เก็บเข้าที่

+พิมพ์กระทงทอง    มีด้ามเป็นไม้หรือขดเหลืองยาวประมาณ  7-8 นิ้ว   ด้านปลายจะเป็นรูปกระทง  1-2 อัน   การเลือกซื้อจะดูทองเหลืองที่ต่อมายังด้ามไม้ยาวพอสมควร  การต่อแน่นหนา  ต่อแผ่นทองเหลืองที่ถาดจับที่ด้ามแน่นสนิทการทำความสะอาด ใช้แล้วล้างเศษขนมออกให้หมด ทาน้ำมันพืชให้ทั่ว เก็บเข้าที่

+พิมพ์ดอกจอก      มีลักษณะเป็นทองเหลืองทั้งอัน   ด้ามยาวมีห่วงวงกลมด้านบนยาวประมาณ  7-8 นิ้ว  ด้ามปลายทำเป็นรูปกลม หล่อเป็นลวดลาย การเลือกซื้อดูทองเหลืองที่ต่อกับด้ามให้แน่นหนา  การทำความสะอาดใช้แล้วล้างทาน้ำมันพืชให้ทั่วเก็บเข้าที่

+พิมพ์ทองม้วน     มีด้ามยาว   ตัวพิมพ์เป็นเหล็กหล่อตีเป็นแผ่นบาง ๆ   มีลวดลายที่พิมพ์   ก่อนใช้ผิงไฟให้พิมพ์ร้อนเสียก่อนควรใช้ลูกประคบชุบน้ำมันพืชทา   (ลูกประคบคือกากมะพร้าวห่อด้วยผ้าใช้สำหรับชุมน้ำมันทาพิมพ์)  พิมพ์ทอง
ม้วนใช้แล้วแปรงให้สะอาดแล้วทาน้ำมัน ห่อด้วยผ้าหรือกระดาษ

+ที่กดสลิ่ม    ทำด้วยทองเหลืองหรือสแตนเลส   มีลักษณะเป็นกระป๋องกลมด้านล่างเจาะรูเล็ก ๆ    ด้านบนปากกระป๋องมี2 หู มีที่กดเป็นด้ามยาวประมาณ  6-7 นิ้ว   ด้านปลายเป็นแผ่นกลมหนา   การเลือกซื้อควรพิจารณาความแข็งแรง
แน่นหนาของการบัดกรี    ระหว่างรอยต่อของด้ามกับตัวแผ่นที่กดแลหูทั้งสองข้าง รูที่เจาะด้านล่างใช้งานได้
การทำความสะอาดล้างแล้วเช็ดให้แห้งเก็บเข้าที่